ปรมัตถธรรม
กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นดับไฟแห่งทุกข์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
อาจารย์กัญจนา เตชะอุด
อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมฯ(v-cheer)
มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
คำนำ
สืบเนื่องเนื่องด้วยอาจารย์กัญจนาเตชะอุดอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมฯ(V-Cheer) มหาวิทยาลัยพายัพมีจิตศรัทธาที่ได้จัดโครงการเปิด
บ้านกัญจนาณมิตร ขึ้นในวันที่
18 กรกฏาคม 2554ที่ผ่านมานี้โดยได้กราบนิมนต์
พระอาจารย์พระมหาดร.สิงห์ทน นราสโภเจ้าอาวาสวัด(ป่าแก้ว)วรเชษฐ์
จ.พระนครศรีอยุธยามาเจริญพุทธมนต์และแสดงพระธรรมเทศนาซึ่งในวันดังกล่าวหลวงพ่อท่านได้สวดบทพระธรรมจักรกับปวัตตนสูตดังนั้นจึงทำให้เกิดแรงบันบาลใจให้อาจารย์กัญจนาเตชะอุดซึ่งสนใจใฝ่ธรรมะอยู่สงสัยใคร่รู้ถึงรายละเอียดความหมายและความสำคัญของบทสวดดังกล่าวจึงทำการค้นคว้าและได้ไปพบบทความเรื่องปรมัตถธรรมกระบวนธรรมของการเกิดขึ้นดับไฟแห่งทุกข์โดยบังเอิญจึงได้รวบรวมและเรียบเรียงตามชื่อเรื่องและจัดทำเป็นรูปเล่มแจกเพื่อเป็นทานตามที่ท่านได้อ่านอยู่นี้ กุศลใดๆจากเอกสารเล่มนี้ขอถวายเป็นพุทธบูชาและขอให้ถึงแก่บิดามารดาครูอาจารย์
ครอบครัว ผู้มีพระคุณตลอดไปถึงเจ้ากรรมนายเวรขอให้เจริญในธรรมทุกท่านเทอญ
กัญจนา เตชะอุด
26/7/54
"ในครั้งตรัสรู้ใหม่ๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยที่จะไม่ประกาศเผยแผ่ธรรมที่ท่านตรัสรู้
เพราะว่า หมู่สัตว์ทั้งหลายคงยากที่จะเข้าใจในความลึกซึ้งของ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน"
ตลอดจนการพบพระพุทธพจน์ ที่ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
และเมื่อศึกษาพิจารณาก็พบว่า
เป็นธรรมอันลึกซึ้งที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาอันเป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้ อริยสัจ๔ เพราะความจริงแล้ว
อริยสัจ และ ปฏิจสมุปบาท ก็ล้วนเป็นธรรมเดียวกันนั่นเอง
และภายหลังตรัสรู้พระองค์ยังทรงพิจารณาโดย อีกตลอด ๗
วันแรกของการจากการหลุดพ้น จนบังเกิดพุทธปีติเปล่งพุทธอุทาน
อันบังเกิดเป็นในพระศาสนาขึ้นถึง ๓ ครั้ง ๓ ครา อันล้วนเกิดจากความปีติพระทัยในความลึกซึ้งของ
"ปฏิจจสมุปบาท"
จึงได้ปฏิบัติโดยการในปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียดและแยบคาย
จึงพอได้เห็นธรรมความลึกซึ้งของ
ปฏิจจสมุปบาท คือ
เห็นถึงกระบวนการหรือกระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์และการดับไปแห่งทุกข์โดยละเอียดจนจบครบวงจรอย่างสมบูรณ์
จึงบันทึกไว้ในแนวทางแบบจำแนกแตกธรรมให้เห็นทั้งเหตุและผลโดยละเอียด อันเกิดขึ้นจากการ
โยนิโสมนสิการ คือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคาย
ตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ,
จนพอเข้าใจกระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์อย่างละเอียดโดย
ใช้ความรู้ความเข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท และ ขันธ์๕ มาประยุกต์อธิบายในธรรมของพระพุทธองค์โดยพิสดารและถูกต้องตามพระพุทธประสงค์
อันยังให้สามารถเข้าใจใน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น